Features
กุมภาพันธ์ 07, 2566

โลกของเรามีชีพจรจริงหรือ?

เชื่อหรือไม่ว่าคำตอบคือ “ใช่” ทุกๆ 26 วินาที จะมีแรงสั่นสะเทือนขนาดเล็กเกิดขึ้นภายในโลก เช่นเดียวกับชีพจรหรือการเต้นของหัวใจ เป็นที่น่าสังเกตว่าแรงสั่นสะเทือนเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นปกติสม่ำเสมอ และเกิดขึ้นมาหลายสิบปีแล้ว ,” ลาร์ส ไอวินด์ ออกแลนด์ นักธรณีวิทยากล่าว


Geologist Lars Eivind Augland
Geologist Lars Eivind Augland

ชีพจร

ชีพจรของโลกคือแนวคิดหลักในแคมเปญของยาราเพื่อเป้าหมายในการเข้าสู่อนาคตด้านอาหารที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เบื้องหลังชีพจร ยาราได้คุยกับลาร์ส ไอวินด์ ออกแลนด์, รองศาสตราจารย์ภาควิชาธรณีศาสตร์ มหาวิทยาลัยออสโล ออกแลนด์ทำงานด้านธรณีวิทยาและศึกษาช่วงเวลาของเหตุการณ์ต่างๆ ตลอดจนเวลาทางธรณีวิทยา ตั้งแต่ทวีปก่อตัวขึ้นอย่างไรจนถึงสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาอย่างไร

ออกแลนด์พบว่าปรากฎการณ์ชีพจร 26 วินาที เป็นเรื่องที่น่าหลงใหลและน่าตื่นเต้น

– "ใช่ คุณอาจเรียกมันว่าชีพจรชนิดหนึ่ง เปลือกโลกมีการสั่นสะเทือนเป็นปกติ แต่เป็นการสั่นสะเทือนที่เล็กน้อยมากและไม่เป็นภัยคุกคามเหมือนเหตุการณ์แผ่นดินไหว"

ออกแลนด์อธิบายว่าทุกๆ 26 วินาที ชีพจรของโลกถูกตรวจพบได้โดยสถานีแผ่นดินไหวรอบโลก ซึ่งสัญญาณเด่นชัดที่สุดถูกพบในแอฟริกาตะวันตก อเมริกาเหนือ และยุโรป ชีพจรคือหนึ่งในสัญญาณที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ชัดเจน และเที่ยงตรง แม้ยังไม่มีความชัดเจนถึงสาเหตุของการเกิดขึ้น แต่ก็มีคำอธิบายที่เป็นไปได้หลายทาง เช่น คลื่นทะเล ภูเขาไฟ รวมถึงแรงดันสะสม ที่ถูกปล่อยภายในรอยแตกที่มีน้ำขังในชั้นตะกอนใต้ก้นทะเล

– "แต่เดิม แผ่นดินไหวขนาดเล็ก หรือชีพจรที่ถูกตรวจพบทุก 26 วินาที สามารถอธิบายได้ด้วยคลื่นในอ่าวกินีในแอฟริกาตะวันตก ซึ่งมีความลึกเป็นพิเศษ รูปทรงของพื้นมหาสมุทรและชายฝั่งบ่งบอกถึงสาเหตุที่เป็นไปได้ เนื่องจากการที่คลื่นกระทบกันและทำให้เกิดเสียงสะท้อนที่ก้นทะเล สามารถแผ่ขยายเป็นคลื่นแผ่นดินไหวในเปลือกโลกได้," ออกแลนด์กล่าว

เขายังอธิบายต่อว่าการระเบิดของภูเขาไฟ ได้ถูกนำมาอ้างอิงว่าเป็นคำอธิบายที่เป็นไปได้ แต่ไม่พบร่องรอยของภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่ในทะเลในบริเวณดังกล่าว

– "คำอธิบายที่สามถูกค้นพบในการศึกษาล่าสุดที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารชื่อดังศาสตร์ของโลกและดาวเคราะห์ ชี้ให้เห็นถึงของเหลวที่ไหลผ่านรอยแยกของตะกอนใต้พื้นทะเลว่าเป็นสาเหตุของการสั่นสะเทือน," ออกแลนด์กล่าว

ชีพจร” จำนวนมาก

จากคำกล่าวของออกแลนด์ โลกมีชีพจรจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือชีพจรสั้นๆที่เกิดขึ้นทุกๆ 26 วินาที ในขณะที่ชีพจรที่มีระยะเวลายาวนานกว่าถูกควบคุมโดยพารามิเตอร์ทางดาราศาสตร์และรังสีจากดวงอาทิตย์

– "เราต้องดูการเปลี่ยนแปลง, การผันแปรของวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์และการเอียงของแกนโลก

ซึ่งรู้จักกันในชื่อวงจรของมิลานโควิช ชีพจรเหล่านี้มีระยะเวลาที่คาดการณ์ได้อยู่ระหว่าง 10,000 และ 400,000 ปี และถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายเพื่อศึกษาสภาพอากาศ ในส่วนของชีพจรอื่นๆที่มีการหยิบยกขึ้นมา ในปัจจุบันได้มีการนำมาศึกษาพิจารณามากขึ้น และพบว่ามีความเชื่อมโยงกับการแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างชั้นของโลกที่อยู่ลึกกับเปลือกโลก ซึ่งอาจก่อให้เกิดภูเขาไฟขนาดใหญ่ การก่อตัวของทวีปต่างๆ การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกที่มีผลต่ออากาศโดยการดูดซับหรือปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ วัฏจักรเหล่านี้มีชีพจรตั้งแต่หลายสิบไปจนถึงหลายร้อยล้านปี," ออกแลนด์อธิบาย

– "ครั้งแรกที่ผมได้อ่านเกี่ยวกับปรากฎการณ์ชีพจร 26 วินาที มันกระตุ้นความสนใจของผมทันที เพราะงานของผมคือการทำความเข้าใจในวัฏจักรต่างๆเหล่านี้เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของโลกและเงื่อนไขสำหรับชีวิต นี่สิ่งที่น่าสนใจอย่างมากโดยไม่มีข้อสงสัยเพราะมันแสดงให้เห็นว่าโลกถูกเชื่อมโยงอย่างไร และได้รู้ว่ามีบางสิ่งที่ลึกลับอยู่จริงเมื่อคุณได้ค้นพบปรากฎการณ์ซึ่งยากต่อการอธิบาย และเป็นการทำงานเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 50 ปี โดยที่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ามันเกิดขึ้นจากอะไร"

 


 

แหล่งอ้างอิง

Chen, Y., Xie, J. and Ni, S., 2022. Generation mechanism of the 26 s and 28 s tremors in the Gulf of Guinea from statistical analysis of magnitudes and event intervals. Earth and Planetary Science Letters, 578, p.117334.

Lantink, M.L., Davies, J.H., Ovtcharova, M. and Hilgen, F.J., 2022. Milankovitch cycles in banded iron formations constrain the Earth–Moon system 2.46 billion years ago. Proceedings of the National Academy of Sciences, 119(40), p.e2117146119.

Meyers, S.R. and Malinverno, A., 2018. Proterozoic Milankovitch cycles and the history of the solar system. Proceedings of the National Academy of Sciences, 115(25), pp.6363-6368.

Michael R.Rampino, KenCaldeira & Yuhong Zhuc, 2021: «A pulse of the Earth: A 27.5-Myr underlying cycle in coordinated geological events over the last 260 Myr», Geoscience Frontiers.

Müller, R.D. and Dutkiewicz, A., 2018. Oceanic crustal carbon cycle drives 26-million-year atmospheric carbon dioxide periodicities. Science advances, 4(2), p.eaaq0500.

Oliver, J., 1963. Additional evidence relating to “a worldwide storm of microseisms with periods of about 27 seconds”. Bulletin of the Seismological Society of America, 53(3), pp.681-685.

Shapiro, N.M., Ritzwoller, M.H. and Bensen, G.D., 2006. Source location of the 26 sec microseism from cross‐correlations of ambient seismic noise. Geophysical research letters, 33(18).

Wu, Y., Fang, X., Jiang, L., Song, B., Han, B., Li, M. and Ji, J., 2022. Very long-term periodicity of episodic zircon production and Earth system evolution. Earth-Science Reviews, p.104164.