วันนี้คุณเกรียงไกร พุ่มพุฒิ นักวิชาการเกษตรอาวุโส บริษัท ยารา (ประเทศไทย) จำกัด พาพี่น้องมาเยี่ยมชมแปลงคะน้าที่ อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี พร้อมกับมาเผยถึงธาตุอาหารที่มีความสำคัญต่อผักใบ ซึ่งก็คือแคลเซียมนั่นเองครับ

imagezvlph.png

ปัญหาสำคัญ ที่พบในผักใบ

ผักคะน้า

 

ปัญหาสำคัญที่พบในผักใบก็คือ เรื่องของโรค และแมลง ดังนั้นการใช้แคลเซียมในผักใบ จะช่วยให้ผักใบมีความแข็งแรง สามารถต้านทานโรค และแมลงที่จะเข้าทำลายได้เป็นอย่างดี

ขอแนะนำยาราลีว่า ไนตราบอร์ 15-0-0 ปุ๋ยแคลเซียมไนเตรทสำหรับหว่านทางดิน โดยเริ่มใส่ตั้งแต่คะน้าหรือผักใบมีอายุ 14 วันขึ้นไป สามารถใส่ร่วมกับปุ๋ยทางดินสูตรอื่นๆ ได้เลย เพื่อป้องกันโรค และแมลง ทำให้พืชมีความแข็งแรง มีลำต้นใหญ่ ใบหนา เขียวนวล คุณภาพดี น้ำหนักเยอะ ขายได้ราคาดี และเป็นที่ต้องการของตลาดด้วยครับ

เคล็ด(ไม่)ลับ บำรุงผักคะน้า

แปลงผักคะน้า

 

ขอแนะนำยาราลีว่า ไนตราบอร์ 15-0-0 ปุ๋ยแคลเซียมไนเตรทสำหรับหว่านทางดิน โดยเริ่มใส่ตั้งแต่คะน้าหรือผักใบมีอายุ 14 วันขึ้นไป สามารถใส่ร่วมกับปุ๋ยทางดินสูตรอื่นๆได้เลย เพื่อป้องกันโรคและแมลง ทำให้พืชมีความแข็งแรง มีลำต้นใหญ่ ใบหนา เขียวนวล คุณภาพดี น้ำหนักเยอะ ขายได้ราคาดี และเป็นที่ต้องการของตลาดด้วยครับ

เมื่อนำมาเปรียบเทียบให้เห็นกันจะจะระหว่างแปลงที่ใช้ปุ๋ยยารากับไม่ได้ใช้ ความแข็งแรงผิดกันเลยครับ  สีก็ต่างกัน รวมถึงความสามารถในการต้านทานโรคและแมลงก็ต่างกัน คะน้าที่มีความสมบูรณ์ ต้องเป็นคะน้าที่มีความแข็งแรงตั้งแต่ระบบราก สังเกตได้จากระบบรากที่มีขนาดใหญ่ รากฝอยมีความขาวสมบูรณ์  สามารถดูดซึมธาตุอาหารได้ดี 

และที่ปังที่สุด คือ เมื่อนำคะน้า 5 ต้นมาชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบกัน แปลงที่ไม่ได้ใช้ปุ๋ยยารามีน้ำหนักเพียง 5.4 ขีด ในขณะที่แปลงที่ใช้ปุ๋ยยารามีน้ำหนักถึง 8 ขีดเลยครับพี่น้อง !  รู้อย่างนี้แล้วอย่าลืมให้ความดูแลใส่ใจเพื่อผักใบที่มีคุณภาพและผลผลิตที่มากขึ้นนะครับ

นักวิชาการยารา พบเกษตรกร

วันนี้เราตาม คุณเกรียงไกร นักวิชาการเกษตรอาวุโส บริษัท ยารา ประเทศไทย จำกัด พาลงแปลงผักคะน้า พร้อมแชร์เกร็ดความรู้เรื่องธาตุอาหารที่สำคัญสำหรับผักใบ อย่างแคลเซียมกันครับ

เสียงจริงเกษตรกรยารา

เกษตรกรคนเก่งของยาราวันนี้พบกับ พี่สุวิมล เจ้าของสวนคะน้า จังหวัดกาญจนบุรี เนื้อที่กว่า 40 ไร่ การันตีด้วยประการณ์การปลูกผักมามากว่า 20 ปี พี่สุวิมลแนะว่าปลูกผักให้ได้ผลผลิตสูง หัวใจสำคัญก็คือ การให้ปุ๋ย ถูกปริมาณ ถูกตามระยะที่ต้นผักต้องการ